ถ้าพูดถึงความสามารถของอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนที่ใช้ในประเทศไทย แน่นอนว่าสัญญาณหรือเทคโนโลยีก็ต้องเป็น 4G ที่เราใช้กันที่มีบนคลื่นความถี่ประมาณ 1800 MHz และมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 100 Mbps และตอนนี้ก็มีกระแสจากหลายทางมากถึงเทคโนโลยีไร้สาย 5G ว่ามีเข้ามาแล้วบางกระแสก็ว่ายังไม่มีเข้ามา ก่อนเราจะไปหาคำตอบกันว่า 5G นั้นจะเข้ามาให้เริ่มใช้งานได้เมื่อไหร่ เราลองมารู้จักความสามารถและประสิทธิภาพกันก่อน ลองมาเปรียบเทียบกันดูว่า 5G มีความแตกต่างจาก 4G ที่เราใช้กันในปัจจุบันอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมใช้งานให้ได้เต็มศักยภาพนั่นเอง
ทำความรู้จัก 5G กันเถอะ
5G คือ เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในเจเนอเรชั่นที่ 5 โดยจะมีศักยภาพและการทำงานที่มีประสิทธิภาพทั้งภาพและเสียงมากกว่า 4G ถึง 1,000 เท่า รวมถึงรองรับการใช้งานได้มากกว่าแค่ในสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่เป็นการใช้งานที่ครอบคลุมไปถึง IoT (Internet of Things) แต่ความสามารถของ 5G นี้ แตกต่างจาก 4G แค่ไหนกันล่ะ...
แน่นอนเรื่องความเร็วที่มากกว่า
คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตก็คงทิ้งเรื่องความเร็วความแรงไม่ได้อยู่แล้ว ซึ่ง 5G นั้นจะมีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลอยู่ที่ 20 Gbps ซึ่งเร็วกว่า 4G ถึง 20 เท่า ในความเร็ว 1 Gbps ถือว่าได้ใจไปเลยสำหรับคอหนัง คอเกม และผู้ที่ต้องการอัปโหลด ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือแทบจะครอบคลุมทุกการใช้งาน ยกตัวอย่างเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพในเรื่องความเร็วสูง เพื่อประมวลผลของข้อมูล เนื่องจากต้องส่งผ่านข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีข้อมูลเป็นจำนวนมากในการประมวลผลโดยการใช้อินเทอร์เน็ตร่วมด้วย และ 5G ก็นับได้ว่ามีความเร็วและแรงตอบโจทย์กับนักพัฒนาเทคโนโลยี AR และ VR ได้อย่างไม่ติดขัด
ให้ได้มากกว่าอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟน
แน่นอนว่าในอนาคตการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ คงเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน ซึ่ง 5G นั้นสามารถรองรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ได้ถึง 1,000,000 อุปกรณ์ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจากเดิม 4G สามารถเชื่อมต่อได้จำนวน 100,000 อุปกรณ์ต่อ 1 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งเป็นผลที่ดีในอนาคตเป็นอย่างมากเพราะ 5G นี้จะมีส่วนช่วยให้เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) นั้นมีความเป็นได้เร็วยิ่งขึ้น หากถามว่าทำไม 5G ถึงจะเข้ามามีบทบาทกับตัวเทคโนโลยี IoT กับการรองรับของตัวอุปกรณ์ได้อย่างไร หลายๆ คนคงเคยได้ยิน SmartHome กันมาบ้างแล้ว คือแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมภายในตัวบ้านและสั่งการได้โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ต้องมีเซ็นเซอร์ของแต่ละตัว เพราะฉะนั้นจำนวนของการรองรับอุปกรณ์ของบ้านแต่ละหลังนั้นต้องมีการเชื่อมต่อมากกว่า 1 หรือ 2 อุปกรณ์แน่นอน ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า 5G ที่มีการรองรับการเชื่อมต่อที่มากนั้น สำหรับในอนาคตก็คงเป็นเรื่องไม่ยากที่บ้านแต่ละหลังจะเป็น SmartHome ได้อย่างง่ายดาย
ตอบสนองไวตามใจสั่ง
ถ้าจะพูดให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นคงต้องยกตัวอย่างการใช้งานสำหรับสายเกมออนไลน์ เพราะความเร็วของอินเทอร์เน็ตนั้น การแสดงผลความเร็วในการตอบสนองจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก ความเร็วในการตอบสนอง (Response Time) ที่ค่อนข้างต่ำ ก็จะทำให้การเล่นเกมสามารถรับคำสั่งการได้รวดเร็ว ไม่มีสะดุด และ 5G ก็มีความสามารถในการตอบสนองเพียงแค่ 1 Ms หรือต่อวินาทีเท่านั้น โดย 4G มีความเร็วในการตอบสนองถึง 40 Ms หรือต่อวินาที เช่นเดียวกับการทดสอบ Autonomous car รถยนต์อัตโนมัติ หรือรถยนต์ไร้คนขับ ที่สามารถขับเคลื่อนรถได้ด้วยตนเอง ซึ่งต้องอาศัยการตอบสนองที่ไวโดยต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการประมวลผลเพื่อให้รถยนต์มีการตัดสินใจที่ดีเมื่อสั่งการเบรกรถได้ทันที หากอินเทอร์เน็ตมีการใช้เวลาในการตอบสนองมากเกินไปก็ส่งผลให้การส่งข้อมูลไปยัง Server ช้า จึงทำให้ประสิทธิภาพการตัดสินใจในการเบรกรถ รถยนต์อัตโนมัติก็จะสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ทันที
|
ความเร็วรับ - ส่ง
|
รองรับจำนวนอุปกรณ์ได้
|
เวลาในการตอบสนอง
|
4G
|
1 Gbps
|
100,000 อุปกรณ์ : ตร.กม.
|
40 Ms. (วินาที)
|
5G
|
20 Gbps
|
1,000,000 อุปกรณ์ : ตร.กม.
|
1 Ms. (วินาที)
|
ทั้งหมดนี้คือข้อแตกต่างของความสามารถระหว่าง 4G และ 5G รวมถึงเราสามารถใช้ประโยชน์จาก 5G ในอนาคตได้อย่างไร ซึ่งเป็นไปได้อย่างชัดเจนว่า 5G จะมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ส่วนในประเทศไทยนั้นก็มีกระแสมาว่าภายในปี 2020 นี้จะสามารถใช้งาน 5G ได้ แต่อย่างไรไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการด้านเครือข่ายหรือจะเป็นผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ก็คงต้องติดตามกันต่อไป ว่า กสทช. มีกำหนดการเปิดใช้งานได้เมื่อใด รวมถึงการอนุญาตจากภาครัฐด้วย