teaser-m
Digital Updates

วิธีสังเกต App ปลอม เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในมือถือ
เรากำลังชักศึกเช้าบ้านหรือป่าว!! เคยสังเกตกันบ้างไหมว่าแอปพลิเคชันที่เราโหลดมาติดตั้งในเครื่องเป็นแอปจริง หรือแอปปลอม วันนี้มีทริคดี ๆ ที่ควรทำทุกครั้งก่อนกดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาแนะนำ ไปดูกันเลยครับ
totcontent_cover8

เรากำลังชักศึกเช้าบ้านหรือป่าว!!  เคยสังเกตกันบ้างไหมว่าแอปพลิเคชันที่เราโหลดมาติดตั้งในเครื่องเป็นแอปจริง หรือแอปปลอม วันนี้ TOT fiber 2U มีทริคดี ๆ ที่ควรทำทุกครั้งก่อนกดดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน  เพื่อหลีกเลี่ยงการโหลดแอปปลอมมาแนะนำ  ไปดูกันเลยครับ #TOTfiber2U

TOT fiber 2U โหลดแอปไหนก็ได้ รวดเร็วทันใจเน็ตแรงเวอร์ไม่มีสะดุด  สนใจดูแพ็จเกจและสมัครออนไลน์ได้ที่ https://www.tot.co.th/fiber2u

ช่องทางการหารายได้กับเทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมตอนนี้ คือ การพัฒนาแอปพลิเคชั่น  หลายคนเริ่มหาความรู้เพื่มที่จะสร้างแอปพลิเคชั่น หวังว่าจะเป็นนวัตกรรม เพื่อดึงดูดผู้คนให้เข้ามาดาวน์โหลด เพราะยิ่งมียอดดาวน์โหลดมาก นั่นก็เท่ากับว่าผู้สร้างแอปพลิเคชั่นก็จะมีรายได้มากเท่านั้น ส่วนช่องทางการขายแอปพลิเคชั่นหลัก ๆ ผู้พัฒนานำไปขาย หรือปล่อยให้ดาวน์โหลดฟรีที่ Play Store และ APP Store เหล่ามิจฉาชีพจึงใช้ความนิยมตรงนี้เป็นเครื่องมือในการสร้างแอปพลิเคชันปลอม หลอกผู้ใช้ให้ติดตั้ง ส่งโฆษณาขยะมาให้เรา ใส่มัลแวร์อันตราย  ที่ร้ายแรงที่สุดคือขโมยข้อมูลส่วนตัว เชื่อว่าบนสมาร์ทโฟนของคุณตอนนี้ต้องมีแอปพลิเคชันและมีมากกว่า 1 แอปอย่างแน่นอน แล้วรู้ไหมว่าแอปที่ดาวน์โหลดมาใช่แอปจริงไหม  ทำอย่างไรถึงจะรู้เท่าทันแอปปลอมเหล่านี้ ไปดูวิธีตรวจสอบกัน

TOT-01 (1)
วิธีที่ 1 ดูภาพรวมของแอปพลิเคชัน
สิ่งแรกที่เราควรทำ คือ สังเกตภาพรวมของแอป ทั้งไอคอน Screenshots หรือแม้กระทั่งชื่อแอป ซึ่งแอปของแท้ต้องมีความคมชัด ภาพไม่เบลอ ไม่แตก เนื่องจากแอปปลอมมักจะออกแบบมาให้คล้ายกับแอปของจริงสุด ๆ ทำให้เราไม่ทันระวังเผลอดาวน์โหลดแอปปลอมไปใช้งานโดยไม่ตั้งใจ
TOT-02 (1)
วิธีที่ 2 ดูคำอธิบายรายละเอียด
ถ้าพบว่าสำนวนแปลกๆ มีการสะกดคำผิด ๆ อาจจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีสักเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่แอปจริงที่พัฒนาโดยบริษัทที่น่าเชื่อถือ จะมีทีม Copywriters คอยตรวจภาษา และคำผิด ก่อนปล่อยออกมา ทำให้มีความน่าเชื่อถือและมั่นใจได้ว่าแอปที่เราดาวน์โหลดมานั้นไม่ใช่แอปปลอมแน่นอนครับ
TOT-03 (1)
วิธีที่ 3 ดูผู้พัฒนา
จุดนี้เป็นจุดที่พวกเราส่วนใหญ่มักมองข้าม ไม่ค่อยได้สังเกตและให้ความสำคัญกัน แฮกเกอร์จึงใช้จุดนี้เพื่อตบตาเรา ดังนั้นเพื่อไม่ให้พลาด เราต้องเข้าไปดูชื่อผู้พัฒนาแอปด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าแอปที่เรากำลังจะดาวน์โหลดนั้นเป็นแอปจริง ถ้าให้ชัวร์ก็นำชื่อผู้พัฒนาไปหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเลยว่ามีประวัติ มีที่มาอย่างไร และตรวจสอบจำนวนแอปอื่นๆ จากผู้พัฒนาเดียวกันด้วย ถ้ามีไม่กี่แอป อาจจะต้องตั้งข้อสงสัยแล้วครับ
TOT-04 (1)
วิธีที่ 4 ดูรีวิว
เช็คในริวิวแอปที่จะดาวน์โหลดก่อนว่ามีอะไรที่ผิดปกติหรือไม่ หรือดูแจ้งเตือนจากที่ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดไปก่อนหน้านี้ไหมว่าแอปนี้ใช้งานแล้วเป็นอย่างไรมีปัญหาในการใช้งานอะไรบ้างอาจจะต้องอ่านรีวิวโดยละเอียดก่อนการดาวน์โหลดนะครับ
TOT-05
วิธีที่ 5 ดูยอดดาวน์โหลด
ถ้าจำนวนผู้ดาวน์โหลดเยอะ ตัวเลขการดาวน์​โหลดสูง ๆ เแอปนั้นไม่ใช่ของปลอมแน่ แต่ถ้าหากเจอแอปพลิเคชันยอดฮิตแต่ยอดดาวน์โหลดหลักพัน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็นแอปพลิเคชั่นปลอมแน่ แต่วิธีการตรวจสอบจากยอดดาวน์โหลดนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ หรือแอปพลิเคชั่นที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม อาจจะต้องดูรายละเอียดอื่นประกอบด้วย
TOT-06 (1)
วิธีที่ 6 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจาก App Store หรือ Google Play เท่านั้น
หลีกเลี่ยงการติดตั้ง แอพพลิเคชั่นที่ไม่รู้แหล่งที่มา ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมที่มีการทำงานแบบไม่พึงประสงค์ สอดไส้ฝังไวรัส มัลแวร์หรือสคริปท์ดักข้อมูลเอาไว้ในไฟล์ได้ ซึ่งตัวไวรัสหรือมัลแวร์ที่ว่านี้อาจจะไม่ได้ทำอันตรายกับเครื่องโดยตรง แต่เป็นการสร้างความน่ารำคาญ ที่โหดสุดคือการดูดเก็บข้อมูลใช้ในเครื่องไป ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือรหัสพาสเวิร์ดต่างๆ ยิ่งถ้าเราไปทำธุรกรรมอะไรผ่านแอปนี้ มีสิทธิ์หมดตัวได้ง่าย ๆ เลย เพราะฉะนั้นก่อนจะโหลดอะไรมาลงในเครื่องก็ควรพิจารณากันให้ดี ๆ นะครับ