“ทีโอที พร้อมเป็นรากฐานให้ประเทศไทยก้าวสู่ Digital Economy”
Digital Economy เป็นนโยบายเศรษฐกิจสำคัญที่รัฐบาลใช้ในการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศ และภาคธุรกิจ บนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการยกระดับระบบเศรษฐกิจพื้นงานเดิม ที่ประกอบด้วยภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงิน และการบริการ โดยใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าหากัน เพื่อแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ เช่น ปัญหาการผลิตสินค้าทางการเกษตรเกินความต้องการ และไม่ตรงกับความต้องการตลาด ภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน การคุกคามของบริษัทข้ามชาติในภาคธุรกิจการเงินนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงภาคการค้าและการส่งออกที่ถดถอยลง เพื่อเพิ่มมูลค่า ลดต้นทุน และแข่งกับเวลาได้ ทั้งนี้ นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลได้มุ่งเน้นการพัฒนาใน 6 ด้าน ได้แก่
1.ปฏิรูปองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
2.ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ
3.ขยายการให้บริการบรอดแบนด์ทั้งทางสายและไร้สาย
4.สร้างมูลค่าเพิ่มจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
5.ใช้ประโยชน์ทรัพยากรและคลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
1. TOT Powered by TOT
ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและลูกค้ายุคดิจิทัลด้วยต้นทุนที่ต่ำ ราคาถูก เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า
2. Digital from Within
ปฏิรูปองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) ปรับกระบวนการทำงานในรายละเอียดของเนื้องานเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ และพัฒนาช่องทางออนไลน์เพื่อรองรับการให้บริการลูกค้า โดย ทีโอที ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาบุคลากรในองค์กร
3. Digital Enable
การปรับตัวให้ธุรกิจเข้ากับสภาพการณ์ในปัจจุบันโดยเพิ่มบริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital infrastructure) และยกระดับการบริการโทรคมนาคมเป็นบริการสื่อสารดิจิทัล (Digital Service)
1. โครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ
ระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ AAE-1 (Asia-Africa-Europe) มีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรป และมีเส้นทางสำรองเชื่อมต่อไปยังฮ่องกง จากเส้นทางเดิมที่มีการเชื่อมต่อไปยังฮ่องกงของระบบ SJC (Southeast Asia – Japan Cable System) ซึ่งทำให้มีวงจรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่างประเทศเพื่อรองรับการให้บริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงได้อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ ทำให้ระบบสื่อสัญญาณหลักในการเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตจากประเทศไทยไปยังประเทศที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของโลกมีคุณภาพดีขึ้น ด้วยระยะทางที่สั้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นความมั่นคงด้านการเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารของประเทศ นอกจากนี้ ทีโอที มีศูนย์บริการข้อมูลอินเทอร์เน็ต (IDC) และศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet Gateway) ในการดูแลและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอย่างเต็มที่
2. โครงการเน็ตประชารัฐ และโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ
โครงการเน็ตประชารัฐเป็นโครงการของรัฐบาลในการขยายโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นปี 2561 ทีโอที ได้ติดตั้งอุปกรณ์ พร้อมทั้งเปิดให้ประชาชนเริ่มใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมกว่า 24,700 หมู่บ้าน และในปีต่อมา ทีโอที ได้ให้บริการการบริหารจัดการและบำรุงรักษาโครงข่าย นอกจากนี้ ทีโอที ได้ดำเนินการโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบหมู่บ้านชายขอบ โดยจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) ในหมู่บ้านพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) กลุ่มที่ 2 (ภาคเหนือ 2) ส่วนที่ 1 และ กลุ่มที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ส่วนที่ 1 และ บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service) ในหมู่บ้านพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) กลุ่มที่ 1 (ภาคเหนือ 1) ส่วนที่ 2 จำนวน 3,920 แห่ง ซึ่งการดำเนินการทั้งสองโครงการถือเป็นบทพิสูจน์ถึงเป้าหมายหลักขององค์กรในการเป็นกลไกสำคัญของภาครัฐ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ
3. แผน Digital service
เป็นการให้บริการในรูปแบบ Infrastructure as a Service (IaaS), Software as a Service (SaaS) และ Platform as a Service (PaaS) ได้แก่ Cloud Business Service, Application & Software, Cyber Security, Digital Payment และ Digital Content นอกจากนี้ ทีโอที ยังมีความพร้อมในด้านทรัพยากรดิจิทัล ได้แก่ TOT SOC (Security Operation Center) ที่พร้อมให้บริการในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ รวมถึงมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีที่หลากหลาย นับเป็นความพร้อมในทุกมิติที่สามารถรองรับ และสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ